วันจันทร์ที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2558


***สัปดาห์ที่สามของการเรียน***

เริ่มต้นด้วยการปั้มใบมาเรียน ค่ะ


....................................................................................

จากนั้นอาจารย์ก็พาทบทวนความจำ ด้วยการให้ร้องเพลงเดิมที่เคยร้องเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว



***ตามด้วยเพลงใหม่อีก 5 เพลง***




1.เพลง ดวงอาทิตย์
2.เพลง ดวงจันทร์
3.เพลง  รำวงดอกมะลิ
4.เพลง ดอกมะลิ
5.เพลง ดอกกุหลาบ

.......................................................................

ร้องเพลงสนุกสนานกันพอสมควร อาจารย์ก็สอนเกี่ยวกับเนื้อหา 



เรื่อง แนวคิดนักการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาภาษาของเด็กปฐมวัย
1. แนวคิดของกลุ่มพฤติกรรมนิยม
-ทฤษฎีการเรียนรู้ของ Skinner
   ๐สิ่งแวดล้อมมีอิทธิพลต่อพัฒนาการด้านภาษา
   ๐ให้ความสำคัญกับสิ่งเร้าและการตอบสนอง

-John B. Watson
   ๐ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิก
   ๐วางเงื่อนไขพฤติกรรมของเด็ก เป็นสิ่งที่สามารถกระทำได้และผู้ใหญ่สามารถที่จะวางเงื่อนไขพฤติกรรมของเด็กได้ (โดยเขาได้ทดลองกับเด็กจริงๆ)

2.แนวคิดกลุ่มพัฒนาการทางสติปัญญา
-Vygotsky
   ๐เด็กเรียนรู้จากการมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม
   ๐สังคม บุคคลรอบข้างมีผลต่อการเรียนภาษาของเด็ด
   ๐ผู้ใหญ่ควรชี้แนะและขยายประสบการณ์ด้านภาษาของเด็ก

-ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของ Piaget
   ๐การที่เด็กมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมเป็นปัจจัยสำคัญในพัฒนาการด้านภาษาและสติปัญญา

3.แนวคิดของกลุ่มที่เชื่อเรื่องความพร้อมทางร่างกาย
-Arnold Gesell
   ๐เน้นความพร้อมทางด้านร่างกายในการใช้ภาษา
   ๐ความพร้อม วุฒิภาวะของเด็กแต่ละคนไม่เท่ากัน
   ๐เด็กบางคนอาจมีความพร้อมทางด้านร่างกายในการใช้ภาษาได้เร็ว
   ๐เด็กบางคนอาจมีปัญหาอวัยวะบางส่วนที่ใช้ภาษาในการสื่อสารบกพร่อง

4.แนวคิดของกลุ่มที่เชื่อว่าภาษาติดตัวมาตั้งแต่เกิด
-Noam Chomsky
   ๐ภาษาเป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นภายในตัวมนุษย์
   ๐การเรียนรู้ขึ้นอยู่กับวุฒิภาวะ
   ๐มนุษย์เกิดมาโดยมีศักยภาพในการเรียนรู้ภาษามาตั้งแต่เกิด

 -แนวคิดของ O.Hobart Mowrer
   ๐คิดค้นทฤษฎีความพอใจ

..........................................................................................

จากนั้นก็มาทดสอบทักษะด้านภาษา ซักหน่อย ด้วยการให้อ่านคำคล้อง



................................................................................

จากนั้นก็ให้ทุกคนมาแต่นิทานร่วมกัน โดยให้สมมติว่าเป็นครูกับนักเรียนชั้นอนุบาลช่วยกัน
คือให้ครูก็จะเป็นคนเขียนและถามเด็กๆว่าเราจะเเต่งนิทานเรื่องอะไร จากนั้นก็ให้เด็กเป็นคนช่วยเเต่ง


***วันนี้นักเรียนชั้นอนุบาล 3/1 ก็ได้ช่วยกันแต่งนิทาน เรื่อง ผลไม้หลากสี***
หลังจากที่ช่วยกันแต่งเสร็จเรียบร้อยแล้ว ครูก็ได้แบ่งงานให้นักเรียนช่วยกันวาดรูปตามเนื้อเรื่องของนิทาน โดยแบ่งเป็น 4 กลุ่ม ให้ทำกลุ่มละท่อนของนิทาน



>>>หลังจากที่ช่วยกันทำผลที่ออกมา... สวยงามมาก>>>



...............................................................................................

ความรู้ที่ได้รับ
1.ได้รู้ทฤษฎีและแนวคิดของนักทฤษฎีที่ศึกษาเกี่ยวกับการพัฒนาภาษาของเด็กปฐมวัยว่ามีใครบ้างที่ได้   
ศึกษาคิดค้นทฤษฎีและแต่ละคนมีแนวคิดอย่างไรกับการพัฒนาด้านภาษาของเด็กปฐมวัย
2.ได้ทักษะการพาเด็กแต่งนิทานและการให้เด็กมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมโดยการให้ช่วยคิดชื่องเรื่อง             ของนิทาน ให้ช่วยแต่งเนื้อเรื่อง รวมทั้งการแบ่งกลุ่มให้เด็กๆได้ทำกิจกรรมร่วมกัน เพราะจะ  ช่วยพัฒนาการด้านภาษาในการแลกเปลี่ยนความคิดและพัฒนาการด้านสังคมคือการทำงานร่วมกับผู้อื่น

การนำไปประยุกต์ใช้
1.นำความรู้ที่ได้จากทฤษฎีไปศึกษาเพิ่มเติมและนำมาประยุกต์ใช้ในการส่งเสริมพัฒนาการทางด้านภาษาของเด็ก
2.นำทักการให้เด็กมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมไปพร้อมกับครูไปใช้และดัดแปลงให้เหมาะสมกับสถานะการณ์
3.ทุกสัปดาห์จะมีการร้องเพลง ก็จะนำเพลงที่ได้ร้องไปสอดแสรกในการพาเด็กทำงานหรือในการคุมเด็กให้อยู่โดยใช้เพลงเป็นสื่อ

การประเมินผล
1.ประเมินตนเอง = สัปดาห์เป็นสปดาห์ที่ถือว่าได้ทั้งความสนุกเพลิดเพลินและได้ความรู้เกี่ยวกับทฤษฎี
                              และการทำกิจกรรมมากขึ้น
2.ประเมินเพื่อน = เพื่อนให้ความร่วมมื่อมากขึ้นจากสัปดาห์ที่ผ่านมาและสนุกเพราะได้ทำกิจกรรมร่วมกัน
                             และกิจกรรมที่ทำก็เป๋นกิจกรรมสบายๆทำให้ไม่เครียด
3.ประเมินอาจารย์ = อาจารย์ก็สอนได้ดีเหมือนกับที่ผ่านมาและก็มีกิจกรรมเล็กๆน้อยๆคั้นเพื่อไม่ให้นักศึก
                                ษาง่วง

..............................................................................................................





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น